เกร็ดความรู้สำคัญๆที่ประชาชนควรทราบ
1. สิทธิของผู้บริโภค
1.1 หาต้องการแจ้งให้ตรวจสอบหรือร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่คาดว่าไม่ปลอดภัยสามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน อย. 1556
1.2 ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องครบถ้วนของผลิตภัณฑ์และบริการ และได้รับการชดเชยเมื่อถูกละเมิด
1.3 ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องคดีในกรณีที่ถูกละเมิดสิทธิด้วยตนเองได้ โดยอาจมีเจ้ามีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้คำปรึกษา
1.4 ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เช่น น้ำผลไม้สกัด น้ำลูกยอ น้ำเปลือกมังคุด เป็นต้น ที่โฆษณาตามคลื่นวิทยุหรือสื่อต่างๆ ว่าสามารถรักษาโรคต่างๆได้ (เช่น เบาหวาน ความดัน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ โรคไต ฯลฯ) ไม่เป็นความจริงเสมอไป เพราะบางผลิตภัณฑ์มีการโฆษณาเกินจริงและไม่ได้ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา
1.5 ฉลากที่ถูกต้องอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ชื่ออาหาร ชื่อที่อยู่ผู้ผลิตและวันผลิตหรือวันหมดอายุ
2. สิทธิในการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
2.1 สายด่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คือ 1330
2.2 บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง)
- เด็กแรกเกิดที่พ่อแม่ไม่ได้เป็นข้าราชการ
- ภรรยาของข้าราชการและบุตรข้าราชการที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป
- ข้อราชการบำเหน็จ
- บุคคลที่ไม่มีสิทธิประกันสังคมหรือสิทธิข้าราชการ
- บุคคลที่ขาดเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเป็นเวลา 6 เดือน
2.3 ผู้ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง) มีสิทธิในการเปลี่ยนหน่วยบริการ(ที่ระบุในบัตร)ได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี
2.4 บริการที่ไม่อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วย การรักษาภาวการณ์มีบุตรยาก, การผ่าตัดเสริมสวยตามที่ตนเองต้องการ, การเปลี่ยนอวัยวะ
2.5 แรงงานต่างด้าว เช่น พม่า ลาว กัมพูชา สามารถขึ้นทะเบียนเพื่อรับสิทธิตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ที่หน่วยบริการสุขภาพใกล้บ้านได้ มิฉะนั้นต้องเสียค่าบริการในการรักษาพยาบาล
3. ความรู้เรื่องการเข้ารับการบำบัดของผู้ติดสารเสพติด
3.1 ผู้ติดสารเสพติดถ้ารีบเข้ารับการบำบัดรักษาจะสามารถหายขาดได้
3.2 ผู้ติดสารเสพติดสามารถสมัครเข้ารับการบำบัดรักษาได้ที่โรงพยาบาลหรือ รพสต.ใกล้บ้าน
3.3 ผู้ติดสารเสพติดถ้าสมัครใจเข้ารับการบำบัดจะไม่ถูกจับดำเนินคดี
3.4 ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาจะได้รับการบำบัดทั้งทางร่างกายและจิตใจ
3.5 ผู้ผ่านการบำบัดจะได้รับการติดตาม ช่วยเหลือเพื่อไม่ให้กลับไปเสพซ้ำภายในระยะเวลา 1 ปี
4. ความรู้เรื่องสัญญาณภัยโรคหลอดเลือดสมอง
4.1 แขนขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีกของร่างกายทันทีทันใด
4.2 อาการตามัว หรือมองไม่เห็นทันที โดยเฉพาะข้างที่อ่อนแรง
4.3 พูดตะกุกตะกัก พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก
4.4 ปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลันแบบไม่เคยเป็นมาก่อน
4.5 เวียนศีรษะ บ้านหมุน เดินลำบากหรือเป็นลม
5. ความรู้เรื่องการฝากครรภ์ฟรีทุกสิทธิ์ก่อนระยะครรภ์ 12 สัปดาห์
5.1 สามารถฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ฟรี ได้ที่สถานบริการของรัฐทุกแห่ง
5.2 การฝากท้องเร็วสามารถที่จะช่วยป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์หรือโรคทางพันธุกรรมได้
5.3 กระสาธารณสุขส่งเสริมและรณรงค์ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน
5.4 หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 17 ปี นับเป็นกลุ่มเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์เพราะทารกที่เกิดมาอาจมีอาการผิดปกติได้
5.5 หากสงสัยว่าคนในครองครัวตั้งครรภ์ควรปรึกษา อสม. หรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด
http://192.168.1.245/bkh/index.php?name=gallery&op=gallery_detail&id=23#location1
|